บริการของเรา

บริษัท ลิสเซิม โลจิสติกส์ เป็นผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เรามีความเชี่ยวชาญในการให้บริการขนส่งสินค้าที่ครบวงจร ด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั่วโลก ทำให้เราสามารถแนะนำและนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายในการให้บริการจัดการขนส่งและการจัดการด้านค่าใช้จ่ายที่สามารถช่วยประหยัดต้นทุนให้กับลูกค้า อีกทั้งยังตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร รวมไปถึงการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าที่มีความซับซ้อนจากทั่วทุกมุมโลก
เราคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ดังนั้นลูกค้าสามารถวางใจได้ว่าจะได้รับการบริการขนส่งที่ดีที่สุดจากเรา




การขนส่งภายในประเทศ

การขนส่งสินค้าที่ตรงเวลา เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การวางแผนและดำเนินงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น...

การขนส่งสินค้าทางอากาศ

ลิสเซิม โลจิสติกส์ เป็นผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ เราสามารถให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ครอบคลุมทุกจุดหมายปลายทาง...

การขนส่งสินค้าทางทะเล

ลิสเซิม โลจิสติกส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเล เราให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลครอบคลุมทุกจุดหมายปลายทาง...

การให้บริการด้านพิธีการศุลกากร

ลิสเซิม โลจิสติกส์ มีประสบการณ์การทำงานมามากกว่า 10 ปี ทำให้เราเป็นผู้เชียวชาญในการให้บริการด้านพิธีการศุลกากรและตัวแทนในการออกสินค้า...

ตู้คอนเทนเนอร์มือสอง

ลิสเซิม โลจิสติกส์ นอกจากการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าแล้ว เรามีบริการให้คำแนะนำและจัดหาตู้คอนเทนเนอร์มือสอง...

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์

ลิสเซิม โลจิสติกส์ ไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น เรายังให้บริการครอบคลุมในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์...

ศูนย์ประสานงานต่างประเทศ

MEMBERSHIPS :


WCA is the world’s largest and most powerful network of independent freight forwarders,
with over 5,591 member offices in 189 countries around the world.
 

Thai International Freight Forwarders Association
  

With 2204 agent offices in 160 countries,
All World Shipping Corp. is the largest agency group in the world.

 
Map image
Map Locations
Map Connections

บริการคำนวณปริมาณสินค้า

Estimate Fork Image

ความรู้สึกจากลูกค้า

บทความ

news-image
23 February 2024
บริการ Freight Forwarder

ในการทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกนั้นผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้วิธีในการขนส่งรวมถึงบริหารจัดการสินค้าได้ตามความเหมาะสม ในวันนี้ Lissom Logistics จะมาพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับบริการ Freight Forwarder ว่ามีข้อดีอย่างไร และมีการให้บริการอย่างไรกันครับ

1. ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าหรือประสานงานกับผู้ให้บริการด้านการขนส่ง ทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือและทางรถ (Transportation Provider) 
2. เป็นตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า (Forwarding Business)
3. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำเข้า-ส่งออกเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร (Custom Broker) ในกรณีที่บริษัท Freight Forwarder นั้นๆ ได้ทำการจดทะเบียนเป็น shipping แล้ว
4. ให้บริการจัดการโรงพักสินค้าหรือโกดังเก็บสินค้า ซึ่งบริษัท Freight Forwarder อาจเป็นผู้บริหารจัดการเองหรือมีการใช้บริการโรงพักสินค้ากับผู้ประกอบการอื่นที่มีโรงพักสินค้าไว้บริการ (Warehouse)
5. ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ (Labor)
6. ให้บริการด้านการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า (Logistics Service)
7. ให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า (Business Consultant)
8. ให้บริการดำเนินการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยแต่ละโหมดจะมีผู้ให้บริการขนส่งหรือนิติบุคคลที่รับผิดชอบแตกต่างกัน ซึ่ง Freight Forwarder บางเจ้าอาจไม่มีการให้บริการประเภทนี้

ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ให้ครบถ้วน บริการ Freight Forwarder จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า

ทั้งนี้การให้บริการ Freight Forwarder  ยังครอบคลุมไปถึงการจัดการเอกสาร และการยื่นใบขออนุญาตต่างๆในการนำเข้า-ส่งออกอีกด้วย และในบางบริษัท Freight Forwarder ก็อาจมีข้อจำกัดในการให้บริการที่แตกต่างกัน บริษัท Lissom Logistics จึงมีการให้บริการที่ครบวงจรด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั่วโลก และนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายในการให้บริการจัดการขนส่งและสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้า รวมไปถึงการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าที่มีความซับซ้อนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้แบบ one stop services
 

news-image
09 February 2024
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ

การขนส่งทางอากาศเป็นการขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีความรวดเร็วในการขนส่งเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่นๆสำหรับกระบวนการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในกระบวนการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ ประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการดังนี้
 
ผู้ส่งออกสินค้า (Shipper) หมายถึง ผู้ที่ต้องการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศในที่นี้คือผู้ที่ต้องการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ
 
ตัวแทนรับขนส่งสินค้า (Freight Forwarder) คือ ผู้มีหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ส่งออกในการจัดการขนส่งสินค้าของผู้ส่งออกไปยังเมืองปลายทาง บางรายทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า บางรายอาจทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยตรง
 
สายการบิน (Airline หรือ Carrier) คือ ผู้ที่ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยผู้ให้บริการประเภทนี้จะเป็นเจ้าของระวางสินค้า ซึ่งจะขายระวางบรรทุกให้แก่ผู้ส่งออกโดยตรงส่วนหนึ่ง และยังขาย ระวางสินค้าให้แก่ผู้ให้บริการประเภทตัวแทนรับขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อนําไปขายต่อให้กับผู้ส่งออกด้วย รวมถึงยังทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการรับขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง และเป็นผู้ให้บริการที่ออกหนังสือใบตราส่งสินค้าหรือที่เรียกว่า Master Air Waybill 
 
ผู้รับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ (Air Courier) ปัจจุบันมีผู้ให้บริการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศทั้งขนาดใหญ่ที่มีฝูงบินเป็นของตนเอง และผู้ให้บริการขนาดเล็กที่ซื้อระวางมาจากสายการบินอีกทอดหนึ่ง โดยผู้ให้บริการประเภทนี้เน้นการขนส่งสินค้าที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว สินค้าที่ใช้บริการการขนส่งเป็นสินค้าที่มีขนาดเล็กและเบา เน้นการ ให้บริการแบบรับ-ส่งของถึงที่ คือ เป็นการรับของจากผู้ส่งที่ต้นทาง จากนั้นจะดำเนินพิธีการทางศุลกากร ทั้งในประเทศต้นทางและปลายทางให้และส่งให้กับผู้รับปลายทาง โดยจะมีการเก็บค่าบริการแบบเหมา จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บที่ต้นทาง โดยผู้รับปลายทางจะชําระเพียงค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากรและค่าบริการทางเอกสารพิธีการศุลกากรเท่านั้น ปัจจุบันผู้ให้บริการในลักษณะนี้รายใหญ่ ๆ ของโลก ได้แก่ DHL, FedEx และ UPS  
 
ผู้รับขนส่งพัสดุไปรษณีย์อากาศระหว่างประเทศ (Air Parcel Post) การขนส่งพัสดุไปรษณีย์อากาศระหว่างประเทศ จะมีเงื่อนไขดังนี้คือ สินค้าที่รับขนส่งจะต้องมีน้ำหนักต่อชิ้นไม่เกิน 10 กิโลกรัม และเป็นการขนส่งที่ให้บริการโดยกรมสรรพากร ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน โดยผู้ส่งออกจะต้องนําสินค้าไปส่งยังที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง และเป็นการส่งของถึงมือผู้รับโดยตรงที่ปลายทาง เว้นแต่เป็นของที่มีภาษีอากรมาก ซึ่งการชําระค่าไปรษณีย์อากรนั้นจะต้องชําระที่ต้นทางและผู้นําเข้าที่ปลายทางก็ชําระเพียงค่าไปรษณีย์อากรเท่านั้น เช่น บริการ EMS World e-Packet พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เป็นต้น
 
ตัวแทนผู้รับสินค้าปลายทาง (Oversea Agent) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รับสินค้าและดำเนินการจัดส่ง รวมถึงดำเนินพิธีการศูลกากรให้ผู้นำเข้าปลายทาง
 
ผู้นําเข้า (Consignee) คือ ผู้รับสินค้าปลายทางที่ขนส่งมาทางอากาศ
 
การบริการขนส่งสินค้าทางอากาศในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายต่างๆเป็นไปตามเงื่อนไขการค้า รวมไปถึงเอกสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ

 

news-image
26 January 2024
10 บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ

ปัจจุบัน บริษัทขนส่งสินค้าโดยตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ มีการให้บริการหลากหลายรูปแบบเพื่อการบริการลูกค้าอย่างครบวงจร
วันนี้ Lissom Logistics ได้รวบรวม 10 บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ ที่ได้ชื่อว่ามีศักยภาพในการบรรทุกสินค้า มีชื่อเสียงยาวนานระดับโลก และให้มีการให้บริการระดับมาตรฐานสากลมาให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ
 
1.       APM-Maersk
Maersk Shipping Line เป็นสาขาหนึ่งของบริษัท AP Moller-Maersk Line และเป็นบริษัทขนส่งสัญชาติเดนมาร์ก เป็นที่รู้จักในวงกว้างสำหรับสายการเดินเรือสมุทรตั้งแต่ปี 1904 ปัจจุบันบริษัทมีจำนวนเรือ 711 ลำ มีความจุประมาณ 4,087,480 TEU (หน่วยเทียบเท่า 20 ฟุต)
2.       MSC : Mediterranean Shipping Company
เป็นบริษัทเดินเรือเมดิเตอร์เรเนียน ย่อมาจาก MSC เป็นบริษัทขนส่งระหว่างประเทศของสวิสเซอร์แลนด์ ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1970 ปัจจุบันมีเรือจัดส่งสินค้ามากกว่า 524 ลำ และกลุ่มบริษัทถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งสินค้าที่กว้างขวางที่สุดในโลก ความจุของตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 3,308,955 TEU
3.       COSCO
บริษัท China Ocean Shipping หรือตัวย่อ COSCO เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทชั้นนำด้านการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจุบันมีการดำเนินงานของบริษัทมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนเรือ 461 ลำ และความจุของตู้คอนเทนเนอร์อยู่ที่ 2,792,448 TEU
4.       CMA-CGM
CMA-CGM เป็นบริษัทเรือขนส่งสินค้าชั้นนำของฝรั่งเศส ได้เข้ามามีบทบาทในปี 1978 เป็นผลมาจากการควบกิจการระหว่างบริษัทขนส่งที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกัน Jacques Saade ผู้เป็นหัวหน้าของบริษัท ได้เป็นแรงผลักดันและอยู่เบื้องหลังของการดำเนินงาน ปัจจุบันมีเรือมากกว่า 505 ลำ โดยให้บริการ 150 เส้นทางทั่วโลก และมีความจุตู้คอนเทนเนอร์ 2,643,745 TEU
5.       Hapag-Lloyd
Hapag-Lloyd มีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในเยอรมัน เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและโดดเด่นที่สุดในแง่บริษัทการเดินเรือระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นในปี 1970 โดยเป็นผลมาจากการควบกิจการระหว่างสายฮัมบูร์ก-อเมริกัน และบริษัท Lloyd เยอรมันเหนือ ปัจจุบันมีจำนวนเรือยาวมากกว่า 231 ลำ รองรับความจุของตู้คอนเทนเนอร์ 1,644,565 TEU
6.       ONE-Ocean Network Express
One-Ocean Network Express ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2017 เป็นการรวมตัวกันของบริษัทขนส่งหลักทั้ง 3 แห่ง คือ MOL, ‘K’-Line และ NYK เพื่อเสริมสร้างการบริการในเอเชียละตินอเมริกาและแอฟริกา ถึงแม้จะก่อตั้งในประเทศญี่ปุ่น แต่สำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ การเป็นพันธมิตรของทั้ง 3 บริษัท ทำให้มีจำนวนเรือรวม 217 ลำ ความจุของตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 1,521,702 TEU ทำให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7.       Evergreen Line
Evergreen Marine Corporation ก่อตั้งขึ้นในปี 1968 โดย ดร. Yung-Fa Chang ซึ่งมีวิสัยทัศน์อันยาวไกล ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ทั่วโลกและมีจำนวนเรือมากกว่า 203 ลำ และเรือบรรทุกสินค้าขนาดความจุ 1,219,406 TEU
8.       Yang Ming Marine Transport
Yang Ming Marine Transport ตั้งอยู่ในเมืองจีหลงของประเทศไต้หวัน เป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่อปี 1972 โดยบริษัทได้ให้บริการทั่วเอเชีย, ยุโรป, อเมริกา และออสเตรเลีย มีเรือจำนวน 96 ลำ และมีความจุของตู้คอนเทนเนอร์ 627,725 TEU
9.       Hyundai Merchant Marine
Hyundai Merchant Marine เป็นบริษัทขนส่งตู้สินค้าชั้นนำที่อยู่ในเกาหลีใต้ มีเรือทั้งหมด 72 ลำ ซึ่งมีความจุในการบรรทุกสินค้า 424, 724 TEU โดย Hyundai Merchant Marine ถือเป็นบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลกที่ทำงานอย่างครบวงจร ทั้งนี้ HMM ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีอีกด้วย
10.   PIL Pacific International Line
Pacific International Line ก่อตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 1967 เป็นหนึ่งในเจ้าของเรือที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งตู้สินค้าชั้นนำของโลก PIL ให้บริการมากกว่า 500 แห่ง ใน 100 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนเรือ 128 ลำและมีความจุในการบรรทุกสินค้า 420,039 TEU

            การขนส่งสินค้าโดยตู้คอนเทนเนอร์ ถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นการขนส่งระดับโลกในองค์กรการค้า และเติบโตก้าวหน้าในระดับสากลเป็นที่เรียบร้อย

news-image
12 January 2024
NVOCC มีหน้าที่ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางเรืออย่างไร?

การนำเข้าสินค้าทางเรือ ถือเป็นการขนส่งหลักของการนำเข้าในประเทศไทย เนื่องจากมีค่าขนส่งต่ำ และสามารถขนส่งได้ในปริมาณมาก ซึ่งในบางกรณีอาจมีการใช้บริการรับจัดการขนส่งสินค้า ซึ่ง Freight Forwarder ประเภทที่ให้บริการทางทะเลนี้ จะถูกเรียกว่า Non Vessel Operating Common Carrier หรือ NVOCC หรือที่สหรัฐอเมริกาเรียกว่า Ocean transportation Intermediaries – OTIs
ซึ่ง NVOCC สามารถให้บริการได้เช่นเดียวกับสายเดินเรือ ดังนี้
CFS = Container Freight Station หรือ โรงพักสินค้า
CY = Container Yard หรือ ลานพักตู้สินค้า
CFS/CY : หมายถึงผู้รับจัดการขนส่งสินค้า NVOCC จะรับสินค้าของผู้ส่งของที่โรงพักสินค้าที่ตนกำหนดไว้ จนเมื่อถึงเวลาการขนส่ง จึงดำเนินการตรวจนับ บรรจุ ตรวจสอบความเสียหายระหว่างการบรรจุสินต้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ แล้วจึงลากตู้ไปที่ CY เพื่อรอขึ้นเรือ มีความรับผิดชอบจาก CY ต้นทางไปยัง CY ปลายทาง
CY/CY : ผู้ส่งสินค้าบรรจุสินค้าที่โรงงาน โดยลากตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ไปบรรจุแล้วนำตู้ที่บรรจุเสร็จแล้วมาคืนที่ CY ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าเข้ารับขนส่งสินค้าที่ CY ต้นทาง มีความรับผิดฃอบไปจนถึง CY ของประเทศปลายทาง
CY/CFS : ผู้ส่งสินค้าบรรจุสินค้าเองที่โรงงาน โดยลากตู้คอนเทนเนอร์เปล่าไปบรรจุ แล้วนำตู้ที่บรรจุเสร็จแล้วมาคืนที่ CY ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าที่ CY ต้นทาง มีความรับผิดชอบไปจนถึง CFS ของประเทศปลายทาง นั่นคือ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าจะต้องดำเนินการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ นำสินค้าออกมาฝากเก็บไว้ในโรงพักสินค้า รอผู้รับตราส่งมารับสินค้ามารับสินค้าดังกล่าวไป
CFS/CFS : ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า NVOCC จะรับสินค้าของผู้ส่งของที่โรงพักสินค้าที่ตนกำหนดไว้ จนเมื่อถึงเวลาการขนส่ง จึงดำเนินการตรวจนับ บรรจุ ตรวจสอบความเสียหายระหว่างการบรรจุสินต้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เนอร์ แล้วจึงลากตู้ไปที่ CY เพื่อรอขึ้นเรือ ซึ่งมีความรับผิดชอบในการขนส่งจาก CY ต้นทางไปยัง CFS ของประเทศปลายทาง นั่นคือ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าจะต้องทำการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ แล้วนำสินค้าออกมาฝากเก็บไว้ในโรงพักสินค้า รอผู้รับตราส่งมารับสินค้าดังกล่าวไป
เนื่องจาก บริการ NVOCC เป็นบริการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการผู้ประกอบการที่ไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเป็นของตัวเอง และมีค่าภาระในการดำเนินงานค่อนข้างสูงตามเงื่อนไขการค้า (Incoterm) ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องวางแผนการจัดส่งสินค้า เลือกการขนส่งที่มีความคุ้มค่าและรวดเร็วที่สุด ซึ่งในการขนส่งทางสินค้าทางเรือนั้น มักจะมีเส้นทางเดินเรือแบบเครือข่าย ซึ่งเส้นทางเดินเรือของเรือแม่ หรือเรือขนาดใหญ่ (Mother vessel) และเรือลูก หรือเรือขนาดกลางหรือเล็ก (Feeder vessel) นั้นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายด้วยเช่นกัน
-Feeder vessel มีขนาดเล็กกว่าเรือแม่ โดยจะให้บริการขนส่งตู้สินค้าจากเรือสินค้าขนาดใหญ่ (เรือแม่) ไปยังท่าเรือขนาดเล็ก หรือจากท่าเรือขนาดเล็กไปยังเรือแม่
-Mother vessel หรือที่เรียกว่าเรือแม่ จะมีขนาดใหญ่ โดยจะให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือหลักที่เป็นฐานการให้บริการใหญ่ๆเท่านั้น
ที่มา : หนังสือ ธุรกิจผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Freight Forwarder Business โดย คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์
สนใจขอคำปรึกษา อยากได้คำแนะนำ หรือติดปัญหา สามารถติดต่อทีมงาน Lissom Logisticsได้จากช่องทางข้างล่างนี้
TEL : 02-8959771
MOBILE : 091- 4195466
E – MAIL : info@lissom-logistics.co.th

news-image
22 September 2023
BOI คืออะไร ?

news-image
29 April 2022
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์

​ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์
ระบบลีน (LEAN) เป็นระบบช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการลดสิ่งที่ไม่เกิดมูลค่าหรือ Waste และเปลี่ยนความสูญเปล่าให้มีเกิดคุณค่า

news-image
11 April 2022
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN

ระบบการขนส่งแบบ Milk Run
เป็นรูปแบบการจัดการงานขนส่งรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างคุ้มค่า แนวคิดดังกล่าวเกิดจากระบบส่งนมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไปจอดตามบ้านลูกค้าแต่ละหลัง โดยลูกค้าจะนำขวดนมเปล่ามาวางไว้หน้าบ้านตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้นรถรับส่งจะทำการเก็บขวดนมเปล่ากลับไปและส่งขวดนมใหม่ให้กับลูกค้าซึ่งจะเป็นเช่นนี้ในทุก ๆ เช้า 
การขนส่งแบบนี้จะช่วยลดต้นทุนและลดปริมาณสินค้าคงคลัง โดยเมื่อโรงงานผลิตสินค้าเสร็จและจัดรถขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าและในระหว่างขากลับก็รับวัตถุดิบจาก Supplier กลับมาด้วยเพื่อนำไปผลิตสินค้าต่อไป
ที่เห็นได้ในประเทศไทยเช่น การขนส่งน้ำดื่ม โดยบริษัทจะส่งน้ำขวดใหม่ไปยังลูกค้าแล้วรับขวดเปล่ากลับมา เป็นต้น
 

news-image
15 March 2022
การขนส่งทางราง

การขนส่งทางราง (Rail transport)
เป็นการขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้าด้วยยานพาหนะที่วิ่งไปตามราง การขนส่งระบบรางเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่โลจิสติก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับการค้าระหว่างประเทศและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายๆประเทศโดยทั่วไปรางรถไฟจะประกอบไปด้วยราว 2 ราวคู่ขนานกันไป

news-image
11 February 2022
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์


เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์
 

news-image
28 January 2022
RCEP คืออะไร?

news-image
29 October 2021
EEC คืออะไร?

news-image
27 April 2020
Incoterms 2020

news-image
24 April 2020
Transport Modes

news-image
19 June 2019
AFR

news-image
15 January 2020
AI กับ Logistic

news-image
15 November 2019
เพราะเหตุใดสหรัฐอเมริกาถึงตัดสิทธิ GSP ไทย?

                จากกรณีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปกับสินค้าไทยถึง 573 รายการ คิดเป็นมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 39,650 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า “ไทยล้มเหลวในการจัดสิทธิที่เหมาะสมให้กับแรงงานตามหลักสากล” ซึ่งสินค้าไทยจะโดนตัดสิทธิ GSP ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563

news-image
13 September 2019
รถบรรทุกสามารถวิ่งเวลาไหนได้บ้าง?

ในปัจจุบันระบบการขนส่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครทำให้ต้องมีกฎหมายกำหนดเวลาให้รถบรรทุกวิ่งในพื้นที่ชั้นใน เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ซึ่งแยกตามประเภทของรถ และเวลาในการวิ่งดังนี้

news-image
28 February 2019
สินค้าและบริการที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต (EXCISE TAX)

ในคอลัมน์นี้ Lissom จะนำเสนอ สินค้าที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกันค่ะ

news-image
30 January 2019
EXCHANGE RATE

อัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากร 

news-image
28 December 2018
TRANSSHIPMENT / TRANSIT

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผู้นำเข้า / ส่งออก จะพบว่าสินค้ามีการถ่ายลำ (TRANSSHIPMENT) หรือผ่านแดน (TRANSIT) ที่ประเทศหนึ่ง  ในคอลัมน์นี้ Lissom จะนำเสนอความแตกต่างระหว่างการถ่ายลำ กับ การผ่านแดน กันนะคะ

news-image
15 December 2018
Certificate of Origin ( CO )

ใบรับรองแหล่งกำเนิด

news-image
30 November 2018
CITES

ในคอลัมน์นี้ทีมงาน Lissom จะมาบอกเล่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ อนุสัญญาไซเตส  และข้อสงสัยต่างๆ

news-image
15 November 2018
FUMIGATE









 

news-image
30 October 2018
PROHIBITED GOODS & RESTRICTED GOODS

สินค้าที่ห้ามนำเข้า/ส่งออก(ของต้องห้าม) และ สินค้าที่ต้องใช้ใบอนุญาตในการนำเข้า/ส่งออก(ของต้องกำกัด) ของประเทศไทย  

news-image
28 September 2018
DUTY TAX

ในการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้ง ผู้นำเข้าสามารถคำนวณ ภาษีอากรขาเข้า เบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อนำไปคิดต้นทุนในการผลิตหรือการขายทุกครั้ง
แม้ว่าผู้นำเข้าจะนำเข้าสินค้าโดยใช้สิทธิพิเศษ
เพื่อลดอัตราอากรลง หรือไม่เสียอากร แต่อย่าลืมนะคะว่าเราต้องเสียภาษีมูลค่าภายในประเทศทุกครั้ง (VAT 7%)

news-image
31 August 2018
Repair Container

ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าอาจเคยได้ยินค่าใช้จ่ายในการซ่อมตู้คอนเทนเนอร์จากสายเรือมาบ้างแล้ว วันนี้ Lissom จะมานำเสนอ tip เล็กๆน้อยๆที่อาจจะช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายในการซ่อมตู้กันนะคะ

news-image
31 July 2018
CLEARANCE

เรือถึงแล้ว เคลียร์สินค้าเลย!!! 

news-image
02 July 2018
DANGEROUS GOODS

Dangerous Goods ( สินค้าอันตราย )                     

news-image
28 June 2018
ประเภทใบตราส่งสินค้า (TYPE OF BILL OF LADING)

มีวิธีอื่นไหมที่ ผู้รับสินค้าปลายทาง ไม่ต้องใช้ ORIGINAL B/L… 

news-image
24 May 2018
ใบตราส่งสินค้า (BILL OF LADING: B/L)

ใบตราส่งสินค้า (BILL OF LADING: B/L) คืออะไร

news-image
09 May 2018
Form E

Form E ( Certificate of Origin ) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

news-image
27 April 2018
ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก

ต้องการเริ่มต้นที่จะทำธุรกิจนำเข้า/ส่งออกรระหว่างประเทศ ต้องอย่างไร...

news-image
30 March 2018
HS CODE (Harmonized System)

HS CODE ( Harmonized System ) พิกัดศุลกากร       

news-image
07 April 2016
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าอันตรายขาเข้า-ขาออก โดยการท่าเรือ

วิธีจัดการกับสินค้าอันตรายขาเข้า-ขาออก โดยการท่าเรือ

news-image
07 July 2016
การคิดค่าระวางสินค้าสำหรับการขนส่งทางอากาศ (Air Freight Calculation)

ในการคำนวณค่าระวาง (Freight) ของการขนส่งทางอากาศนั้น สามารถคำนวนณโดยคิดได้จาก 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ครับ

news-image
11 November 2015
BILL OF LADING (B/L) (ใบตราส่งสินค้าทางทะเล) และชนิดของB/L

ทำความรู้จักใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) เอกสารสำคัญในการส่งสินค้าทางทะเล

ลูกค้าของเรา

client-logo

client-logo

client-logo

client-logo

client-logo

client-logo

client-logo

client-logo

ติดต่อเรา

Email
info@lissom-logistics.co.th
Telphone
+66 2 895 9771